fbpx

โรคหัวใจ หรือโรคที่เกิดกับหัวใจ ซึ่งมีได้หลายโรค แต่ที่พบบ่อยที่สุดและเป็นปัญหาทางสาธารณสุขและเป็นสาเหตุการเสียชีวิตได้สูงติด 1 ใน 4 ของสาเหตุการเสียชีวิตของประชาชนเกือบทั่วโลกรวมทั้งในประเทศไทยคือ โรคหัวใจที่เกิดจากโรคของหลอดเลือดหัวใจหรือที่เรียกว่า

โรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary artery disease หรือ Coronary heart disease) (Kritharides L. et al, Pratt C., et al, Ulrich S, et al, Tunstall-Pedoe H. et al) ซึ่งโดยทั่วไปเมื่อกล่าวถึงโรคหัวใจมักหมายถึงโรคนี้

โรคหลอดเลือดหัวใจ

คือ โรคที่เกิดจากหลอดเลือดหล่อเลี้ยงหัวใจซึ่งมีชื่อเรียกว่า Coronary artery ตีบแคบเล็กลงหรือตีบตัน จึงส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหรือกล้ามเนื้อหัวใจตาย หัวใจจึงทำงานผิดปกติส่งผลถึงอวัยวะต่างๆ ขาดเลือดไปด้วย จึงเกิดมีอาการต่างๆ ได้มากมาย โรคหลอดเลือดหัวใจเป็นโรคของผู้ใหญ่ตั้งแต่วัยหนุ่มสาวไปจนถึงในผู้สูงอายุ โดยพบได้มากตั้งแต่อายุ 40 ปีขึ้นไป   ในช่วงวัยเจริญพันธุ์ (Toth P.P.. et al, Libby P., et al, Davies M.J, et al, Schechter CB. et al) พบโรคหลอดเลือดหัวใจในผู้ชายสูงกว่าในผู้หญิง แต่หลังจากวัยหมดประจำเดือนถาวรแล้ว ทั้งผู้หญิงและผู้ชายมีโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจได้ใกล้เคียงกัน

โสมเป็นหนึ่งในยาสมุนไพรที่นิยมใช้มากที่สุด

และมีรายงานว่ามีการประยุกต์ใช้ในการรักษาและเภสัชวิทยาที่หลากหลาย โสมได้รับความสนใจในด้านการรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือด การวิจัยเกี่ยวกับโรคหัวใจและหลอดเลือดมุ่งเน้นไปที่ส่วนประกอบของโสมที่บริสุทธิ์ เพื่อหากลไกเฉพาะแทนที่จะใช้สารสกัดจากโสมทั้งหมด ginsenosides ที่ศึกษากันมากที่สุด ได้แก่ Rb1, Rg1, Rg3, Rh1, Re และ Rd (Boudina S. et al, Shibata S., et al, Gillis C.N, et al, Buettner C. et al)  การประยุกต์ใช้ทางการแพทย์ของ ginsenosides ในการรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือดได้รับความสนใจเป็นอย่างมากและมีเรื่องตีพิมพ์เป็นจำนวนมาก จากการทบทวนข้อมูลปัจจุบันเกี่ยวกับหน้าที่เภสัชวิทยามากมายและประโยชน์ที่อาจเกิดขึ้นของโสม ตั้งแต่การตรวจสอบในหลอดทดลองโดยใช้เซลล์และรูปแบบสัตว์ในสัตว์ทดลอง ได้ชี้ให้เห็นประโยชน์ของโสมผ่านกลไกที่หลากหลายซึ่งรวมถึงความเป็นสารต้านอนุมูลอิสระต่อระบบหัวใจและหลอดเลือดที่มีศักยภาพ  ปรับเปลี่ยนการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจหรือศูนย์ควบคุมเส้นเลือด (Vasomotor center) ส่งผลช่วยลดการยึดติดของเกล็ดเลือดและการปลดปล่อยตัวส่งสัญญาณระบบประสาทแบบอัตโนมัติ อีกทั้งเพิ่มการจัดการกับระบบไขมันในหลอดเลือด ซึ่ง ginsenosides ทั้ง 40 ชนิดมีผลในด้านเภสัชวิทยาและกลไกต่างๆ แตกต่างกัน อันเนื่องจากโครงสร้างทางเคมีต่างกัน  (Attele A.S. et al, Zhou W., et al,  Cheng Y., et al, Nah S.Y. et al)

นอกจากนี้ยังมีการศึกษาที่ได้รายงานถึงกลไกการประยุกต์ใช้โสมเพื่อการรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือด พบว่า ชาวเกาหลีใช้รากโสมและสารสกัดจากรากเพื่อฟื้นฟูร่างกายและจิตใจให้ดีขึ้น  เพิ่มความแข็งแรงทางกายภาพป้องกันริ้วรอยและเพิ่มความแข็งแรง ปัจจุบันมีแนวคิดทางโภชนาการใหม่ๆ ของโสมที่เกิดขึ้นอย่างน่าสนใจ สามารถอธิบายถึงเภสัชวิทยาพื้นฐานของโสมที่มีผลต่อการปรับสมดุลของระบบหลอดเลือดและหัวใจ มีการใช้โสมในกลุ่มตัวอย่างที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด เช่น ความดันโลหิตสูง  ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ซึ่งมีแนวโน้มที่บ่งชี้ว่ามีผลดีต่อระบบไหลเวียนของเลือด และความเครียดอันเนื่องมาจากปฏิกิริยาออกซิเดชันในร่างกาย (Chen R.J. et al, Choi S.H. et al, Jeon B.H., et al, Kang S.Y. et al)

นอกจากนี้มีการศึกษาจำนวนมากระบุว่า Ginsenosides มีสรรพคุณมากมายทั้งในด้านสรีรวิทยาและทางพยาธิวิทยาเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ซึ่งผลทางเภสัชวิทยาเหล่านี้เกี่ยวข้องโดยตรงกับโครงสร้างของ Ginsenoside โดยตรง (Kim N.D., et al, Baek E.B., et al, Liu L., et al, Qin N,. et al)

ที่มา : นพ.ดำรงค์ เลาหะพรสวรรค์, รศ.ดร.วิเชียร ลีลาวัชรมาศ, (2560). โสมเกาหลี จากธรรมชาติ สู่ศาสตร์การดูแลสุขภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: บริษัท ฐานการพิมพ์ จำกัด