fbpx

ในร่างกายเรานั้นมี ระบบภูมิคุ้มกัน (Immune system) ที่คอยต้านทานและกำจัดเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาสู่ร่างกาย โดยมีเซลล์ที่ทำหน้าที่ผู้พิทักษ์คือ เม็ดเลือดขาว ที่ไหลเวียนอยู่ในกระแสเลือดและตามอวัยวะต่างๆ แต่หากร่างกายเราเกิดภาวะ ภูมิต้านทานต่ำ (Immunosuppression) หรือ ภูมิคุ้มบกพร่อง (Immunodeficiency) เชื้อโรคสิ่งแปลกปลอมก็จะเข้าสู่ร่างกายได้ง่าย ทำให้เราป่วยได้บ่อยๆ นั่นเอง หากเมื่อใดที่ร่างกายเกิดภาวะภูมิคุ้มกันต่ำก็จะทำให้เจ็บป่วยได้บ่อย เช่นการเป็นไข้หวัด ท้องเสีย หรือ เป็นโรคติดเชื้อราบนผิวหนังบ่อยๆ ซ้ำๆ เช่น กลาก เกลื้อน บ่อยๆ เป็นต้น

ซึ่งสาเหตุที่ทำให้ภูมิคุ้มกันต่ำ อาจเกิดได้จาก

1. การพักผ่อนไม่เพียงพอ ทำให้ร่างกายอ่อนเพลียและเจ็บป่วยได้ง่าย ส่งผลให้เกิดภูมิคุ้มกันในร่างกายต่ำได้

2. การไม่ออกกำลังกาย ทำให้ร่างกายไม่ได้รับการเผาผลาญไขมัน และยังทำให้ประสิทธิภาพของการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันลดลงได้อีกด้วย

3. การได้รับยาบางชนิด เช่นในกลุ่มของผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ให้การรักษาโดยการให้เคมีบำบัด จะทำให้ร่างกายอ่อนเพลียได้ง่าย และภูมิคุ้มกันลดต่ำลง ติดเชื้อได้ง่าย และทำให้การทำงานของเซลล์เม็ดเลือดขาวในร่างกายลดลงอีกด้วย ซึ่งข้อมูลจาก องค์การอนามัยโลก ระบุว่า ทุกๆปีจะมีผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่เพิ่มขึ้นทั่วโลก ประมาณ 14 ล้านคน และเสียชีวิต ถึงปีละ 9-10 ล้านคน ในประเทศไทยข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า มะเร็งยังคงเป็นสาเหตุการตายอันดับ 1 ของคนไทย โดยมีคนไทยเสียชีวิตจากโรคนี้ปีละกว่า 67,000 คน เฉลี่ยชั่วโมงละ 8 คนอีกด้วย

4. ช่วงอายุ พบว่าในวัยเด็กและผู้สูงอายุ ภูมิคุ้มกันน้อยกว่าในวัยหนุ่มสาว และยังพบว่าเมื่ออายุมากขึ้นภูมิคุ้มกันในร่างกายก็ยิ่งลดต่ำลงอีกด้วย

หากระบบภูมิคุ้มกันเกิดความผิดปกติจะเกิดอะไรขึ้นได้บ้าง

  • อาการแพ้หรือโรคหอบหืด หากระบบภูมิคุ้มกันทำงานมากเกินไปอาจทำให้เกิดอาการแพ้ที่รุนแรง หรือโรคหอบหืดที่รุนแรงมากขึ้นจนเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

  • ระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง หากภูมิคุ้มกันลดลงมากผิดปกติ จะทำให้ผู้ป่วยเสี่ยงต่อโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง และเสี่ยงต่อการติดเชื้อร้ายแรงมากขึ้น หรือการติดเชื้อเพียงเล็กน้อยอาจส่งผลร้ายแรงต่อผู้ป่วยได้ ซึ่งโรคที่อาจพบได้แก่ ปัญหาทางพันธุกรรมซึ่งพบได้น้อย เช่น โรคภูมิคุ้มกันบกพร่องปฐมภูมิ (Severe combined immunodeficiency Disease: SCID) หรือการติดเชื้อเอชไอวี (HIV) เป็นต้น

  • โรคแพ้ภูมิตัวเอง (Autoimmune Disease) การทำงานที่ผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันอาจส่งผลร้ายโดยย้อนกลับมาทำลายเซลล์และเนื้อเยื่อต่าง ๆ ในร่างกายได้ อาจก่อให้เกิดโรคพุ่มพวง (แพ้ภูมิตัวเอง)

  • โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ อันเกิดจากระบบภูมิคุ้มกันเข้าไปทำลายเนื้อเยื่อที่ข้อต่อต่าง ๆ และโรคไทรอยด์ตาโปนซึ่งเกิดจากระบบภูมิคุ้มกันจู่โจมต่อมไทรอยด์ ซึ่งหากไม่รักษาจะเป็นอันตรายต่อผู้ป่วย

เราสามารถเริ่มหันมาใส่ใจดูแลสุขภาพของเราได้ตั้งแต่วันนี้โดยการ

1. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เกิดโรค และยังทำให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนต่างๆออกมาได้มากขึ้น ช่วยให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันได้มากขึ้น

2. เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์กับสุขภาพ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง อาหารที่มีน้ำตาลสูง ตลอดจนอาหารหมักดอง หันมารับประทานผัก และผลไม้ให้มากขึ้น

3. เลือกรับประทานสมุนไพรในการบำรุงสุขภาพ เช่นเห็ดหลินจือแดงที่มีสรรพคุณในการช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายได้

จากงานวิจัยพบว่า เห็ดหลินจือ ช่วยเรื่องระบบภูมิคุ้มกัน

ซึ่งจากงานวิจัยพบว่า เห็ดหลินจือมีคุณสมบัติในการต่อต้านเซลล์มะเร็ง  ในการส่งเสริมและมีผลต่อระบบภูมิคุ้มกัน มีส่วนช่วยในการกระตุ้นภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายได้ โดยได้มีหลักฐานจากการศึกษามากมายในการสนับสนุนฤทธิ์ต่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย กลไกของเห็ดหลินจือดำเนินการผ่านการชักนำของ cytokines และการเพิ่มประสิทธิภาพของระบบภูมิคุ้มกัน  องค์ประกอบที่แตกต่างจากเห็ดหลินจือส่งผลต่อการเพิ่มการการทำงานของ T และ B lymphocytes เซลล์โมโนนิวเคลียร์ และ กลุ่มเซลล์เม็ดเลือดขาวอื่นๆ ในหลอดทดลองในสัตว์ทดลองและในร่างกาย  (Bao et al. 2001; Cao and Lin 2002; Zhu, Chen, and Lin 2007; Ma et al. 2008) สารพอลิแซ็กคาไรด์ (polysaccharide) ในเห็ดหลินจือมส่วนช่วยในการเพิ่มขึ้นและการขยายตัวของเซลล์เม็ดเลือดขาว และการเพิ่มขึ้นของ IL-6 และ IFN-γ (Chang et al. 2009) แม้ว่าบางการศึกษาจะพบว่าสารสกัดจากเห็ดหลินจือไม่ได้กระตุ้นให้เกิดการแพร่กระจายของ เซลล์เม็ดเลือดขาวหรือส่งเสริมการแสดงออกของยีนของ IL-1β, IL-6, IL-10 และปัจจัย (TNF) –α อย่างมีนัยยะสำคัญ (Mao et al. 1999) การเพิ่มขึ้นของเซลล์แมคโคฟลาส macrophages และเซลล์ NK ซึ่งมีผลเพิ่มทั้งความสามารถของระบบภูมิคุ้มกัน การที่เห็ดหลินจือ กระตุ้นเซลล์แมคโคฟลาส macrophages ในมนุษย์ อาจเกิดจากการสังเคราะห์ไนตริกออกไซด์ (NO) ที่เพิ่มขึ้นจาก β-D-Glucan (Kuo et al. 2006, Ohno et al. 1998) สารพอลิแซ็กคาไรด์ (polysaccharide) เหล่านี้ยังพบว่ามีส่วนในการควบคุมการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งในร่างกายในขณะ ที่เพิ่มการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกัน (Ooi and Liu 2000)