fbpx

กระบวนการสมองและความจำ

สมองดีเป็นสิ่งที่ใครๆ ก็ต้องการ ทำอย่างไรจึงจะป้องกันไม่ให้สมองเสื่อมก่อนวัย และทำอย่างไรจึงจะทำให้สมองยังคงดีอยู่กับเราตลอดชีวิต การเลือกรับประทานอาหารที่ดีเป็นส่วนหนึ่งของการช่วยดูแลสมอง เริ่มต้นดูแลสมองของคุณด้วยอาหารที่มีประโยชน์ เพื่อสมองและความจำจะได้อยู่กับเราไปนานๆ

การทำงานของสมองนั้นสลับซับซ้อนมากที่สุด แม้แต่เครื่องคอมพิวเตอร์ศักยภาพสูงสุดที่มนุษย์ประดิษฐ์ได้ยังไม่เท่าเทียมการทำงานของสมอง หรือบางทีหากคิดกลับไปว่า “สมอง” นั่นเองคือ คอมพิวเตอร์อัจฉริยะที่ซับซ้อนที่สุดในเวลานี้ เราพยายามทำความเข้าใจสมองมากขึ้น แต่ก็ทำได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น ขณะนี้มีความพยายามศึกษาความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างชีววิทยากับศาสตร์อื่นไม่ว่าจะเป็นชีวนาโนเทคโนโลยี ชีวกลศาสตร์ที่พยายามใช้ความเข้าใจในศาสตร์ 2 ประการ ทำความเข้าใจการทำงานของสมอง อย่างไรก็ตามคาดหมายว่าต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่าครึ่งทศวรรษจึงจะมีความก้าวหน้ามากขึ้น

สมองมีความสามารถในการเข้ารหัส ความทรงจำต่างๆ โดยการสร้างทางเชื่อมระหว่างเซลล์ประสาทแต่ละเซลล์เข้าด้วยกัน เมื่อได้ระบบการเชื่อมต่อของความทรงจำ แต่ละความทรงจำแล้ว จะเก็บไว้เป็น หมวดหมู่เรียกว่า เอ็นแกรม เอ็นแกรมนี้จะถูกนำไปเก็บไว้ตามกลีบสมอง เมื่อมีการกระตุ้นที่เหมาะสมก็เหมือนกับการไขรหัสเข้าสู่ความทรงจำนั้นๆ คนๆ นั้นก็จะระลึกได้ว่าเคยผ่านประสบการณ์เช่นนั้นมา

กระบวนการจำนั้นเรียกได้ว่ามีความซับซ้อนแล้ว แต่กระบวนการระลึก หรือการนำเอ็นแกรมกลับมายิ่งมีความซับซ้อนมากกว่า เราไม่สามารถรู้ได้ว่า การกระตุ้นที่เหมาะสมนั้นคืออะไร และสมองทำอย่างไรเพื่อนำความทรงจำจำนวนมากมากลับคืนมา และทำไมบางครั้งสมองก็ไม่สามารถหาเอ็นแกรมนั้นเจอ นั้นทำให้คนบางคนลืมความทรงจำบางช่วงของชีวิตไปได้เลยทีเดียว

นักเรียน นักศึกษา เป็นวัยที่ต้องใช้สมองคิดวิเคราะห์ในการศึกษาเล่าเรียน อยู่ท่ามกลางความกดดัน ความเครียดและการแข่งขัน  ต้องอ่านหนังสือนอนดึก  ตื่นเช้าไปเรียน  ดังนั้นจึงเป็นอีกวัยที่ต้องการพลังงาน สมองที่ปลอดโปร่ง ความจำที่ดี  มีความกระฉับกระเฉง ตลอดจนในปัจจุบันประชากรผู้สูงอายุของประเทศไทยมีจำนวนเพิ่มากขึ้นทุกๆปี ปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับระบประสาทและสมองที่พบได้มากในวัยผู้สูงอายุได้แก่ โรคอัลไซเมอร์ ซึ่งเราสามารถสังเกตอาการเบื้องต้นของตัวเองได้จาก

ระยะแรก >>> ผู้ป่วยเริ่มมีอาการถามซ้ำๆ พูดซ้ำๆ ความจำเริ่มถดถอย สับสนทิศทาง ลืมชื่อหรือสถานที่

ระยะกลาง >>> อาจมีความจำแย่ลง เดินออกไปนอกบ้านโดยไม่มีจุดหมาย มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์เกิดขึ้น มีอาการหงุดหงิดง่าย กระวนกระวาย เกิดภาพหลอน คิดว่าจะมีคนมาทำร้ายร่างกายเกิดขึ้น มีอาการหวาดระแวง และกระวนกระวายร่วมด้วย

ระยะสุดท้าย >>> เป็นระยะที่จะต้องมีคนดูแลผู้ป่วยอยู่ตลอดเวลา อาการจะรุนแรงมากขึ้น อาจกระทบกับคนในครอบครัวหรือบุคคลรอบตัวผู้ป่วยได้

อาหารสมองกับการออกกำลังเสริมคุณภาพ

  • ดื่มน้ำ 8 แก้วทุกวัน ส่วนกาแฟและดื่มชาสักหน่อยก็พอจะได้แต่ควรเลี่ยงน้ำตาล กินเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน โดยเฉพาะเครื่องใน เช่นตับและไต เพราะให้สารอาหาร พวกโปรตีน คาร์โบไฮ เดรท แร่ธาตุเหลว วิตามันและกรดไขมันบางชนิดที่จำเป็น ต่อการฟื้นฟูสภาพของเซลล์ และการหมุนเวียนแร่ธาตุ

  • กินถั่ว เมล็ดข้าวไม่ขัดขาว (ข้าวซ้อมมือ) และใบผักให้มาก ๆ เพราะอาหารเหล่านี้อุดม ด้วยกรดไขมันที่สำคัญมากมาย กินเนื้อปลา รวมทั้งเนื้อ ปลาติดมัน เช่น ปลาซาร์ดีน ปลาทูน่า ซึ่งอุดมด้วยกรดไขมันที่ร่างกาย ต้องการ กินผักให้หลากหลาย เพราะเป็นแหล่งอุดมด้วยวิตามินหลายชนิด รวมทั้งมีไฟเบอร์ และกรมไขมันที่

  • สำคัญมาก กินไขมันอิ่มตัวให้น้อยเข้าไว้ แม้จะมีวิตามิน ให้คุณค่าและ ความเอร็ดอร่อยก็ตาม แต่หน้าที่หลักของไขมันอิ่มตัว คือพลังงานสำหรับร่างกายล้วน ๆ เลี่ยงน้ำตาลและ อาหารสำเร็จรูป แม้ว่าร่างกายเราจะใช้น้ำตาล (กลูโคส) เป็นพลังงาน แต่ก็ชอบ ผลิตเอาเองจากอาหารที่เรากินเข้าไปมากกว่า ซึ่งช่วยรักษาระดับน้ำตาล ในเลือด ที่เหมาะสมไว้ด้วย

  • ออกกำลังสม่ำเสมออย่างน้อย 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ประมาณครั้งละ 10-30 นาที ถ้าเบื่อเข้ายิม ก็ลองเดินเร็ว จ็อกกิ้ง เต้นรำ ขี่จักรยาน หรือว่ายน้ำแทน สมัคร ชมรมว่ายน้ำ หรือชมรมเทนนิส หรือจะเป็น สมาชิกศูนย์กีฬาก็ได้ เพราะการโต ้ตอบสัมพันธ์กับคนอื่น ๆ แบบทันทีทันใด ช่วยกระตุ้นสมองได้ดี สังเกตความสัมพันธ์ ระหว่างอาหารที่คุณกินกับการทำงาน ของสมองว่าเป็นอย่างไร กินอาหารเช้าเป็น ประจำและเลี่ยงงานสังสรรค์ ที่มีของมึนเมา

โสม สมุนไพรในการบำรุงสมอง

โสม นอกจากจะได้ชื่อว่าเป็น “ราชาแห่งสมุนไพร” แล้ว ยังเป็นที่กล่าวขานกันว่า สามารถรักษาได้สารพัดโรค ทั้งนี้เนื่องจาก โสม ประกอบด้วยสารสำคัญที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพหลายชนิด เช่นสารสกัดจินเซ็นโนไซด์ (Ginsenosides) จากโสม มีผลต่อระบบศูนย์กลางควบคุมความสามารถทั้งหมดโดยเฉพาะในสมองส่วนของ Hypothalamus ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการหลั่งของฮอร์โมนสำคัญในร่างกาย  เช่น Growth Hormone, Estrogen Hormone และควบคุมระบบประสาทของร่างกาย การกระตุ้นการทำงานของสมองส่งผลต่อการพัฒนาความสามารถในด้านการรับรู้และความจำ รวมทั้งช่วยในการผ่อนคลายของระบบเส้นประสาทที่ดีขึ้น ช่วยระงับและลดความเครียดในระบบสมองและเพิ่มความจำ

นอกจากนี้ จินเซ็นโนไซด์ Rg1 ยังส่งผลต่อสารสื่อประสาทซีโรโทนิน (Serotonin) ที่เกี่ยวข้องกับการลดภาวะความเครียดเรื้อรังในสมอง  ทำให้สมองทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ มีงานวิจัยพบว่าจินเซ็นโนไซด์ชนิด Rg1 ช่วยคลายกล้ามเนื้อที่ผนังหลอดเลือด ยับยั้งการแข็งตัวของผนังหลอดเลือดส่งผลให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงสมองได้ดีขึ้น

ทั้งนี้จินเซ็นโนไซด์ชนิด Rb1, Rg1 และสารซาโปนิน (Saponin) อื่นๆ ในสารสกัดจากโสมมีฤทธิ์ต่อต้านอนุมูลอิสระที่จะมาทำลายเซลล์สมองให้เสื่อมโทรม ซึ่งอนุมูลอิสระเหล่านี้เกิดจากความเครียดและกระบวนการเผาผลาญพลังงานที่สมองต้องใช้ในแต่ละวันซึ่งยากที่จะหลีกเลี่ยงได้   นอกจากนี้ยังพบว่า Rb1 มีส่วนช่วยในการป้องกันเซลล์ประสาทของสมองส่วน hippocampus จากภาวะการขาดเลือด (Ischemic)ได้อีกด้วย  จินเซ็นโนไซด์ ชนิด Rd และ Re ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของสารสื่อประสาท GABA ในสมองที่มีความเกี่ยวข้องต่อสมองให้คลายความวิตกกังวล  ช่วยให้เกิดสมาธิตลอดจนกระบวนการคิดและประมวลผลข้อมูล

ที่มา : นพ.ดำรงค์ เลาหะพรสวรรค์, รศ.ดร.วิเชียร ลีลาวัชรมาศ, (2560). โสมเกาหลี จากธรรมชาติ สู่ศาสตร์การดูแลสุขภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: บริษัท ฐานการพิมพ์ จำกัด