fbpx

ภาวะการนอนหลับ

การนอนหลับ เป็นการพักผ่อนที่ดีที่สุดสำหรับทุกคน ตั้งแต่เด็กแรกเกิดจนถึงวัยชราต้องนอนหลับอย่างพอเพียง ในคนปกติมีการเปลี่ยนแปลงของระบบต่างๆของร่างกายที่มีลักษณะเฉพาะ มีการปรับตัวให้เข้ากับกลางวันและกลางคืน โดยใช้วงจรหลับตื่นเป็นตัวกำหนดเพื่อความอยู่รอด การหลับและตื่นมีความแตกต่างกันตามอายุ โดยเปลี่ยนแปลงอย่างช้าๆ

ภาวะการนอนหลับในแต่ละช่วงวัยที่ดี

  • ทารกแรกเกิดใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการนอนหลับ วันละประมาณ 16-20 ชั่วโมง

  • สู่วัยเรียนการนอนก็จะลดลงเหลือ 9-10 ชั่วโมง

  • วัยผู้ใหญ่ก็จะใช้เวลาในการนอนเพียง 5-6 ชั่วโมง

แต่การนอนหลับของแต่ละคนจะไม่เหมือนกันขึ้นอยู่กับการปฏิบัติตั้งแต่วัยเด็ก เมื่อเข้าสู่วัยชราการนอนหลับจะแตกต่างและเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน คือเริ่มมีการตื่นในช่วงกลางดึกบ่อยขึ้นจะหลับไม่ได้รวดเดียวถึงเช้าเหมือนวัยหนุ่มสาว อาจมีหลับในช่วงกลางวันเพิ่มมากขึ้นในบางวัน

การขาดการนอนหลับในคนปกติสามารถทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพกายและสุขภาพใจของคนผู้นั้นได้ เช่น มีอาการมึนงง เวียนศีรษะ ปวดศีรษะ หงุดหงิด สมาธิไม่ดี การตัดสินใจแย่ลงเป็นต้น ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงวัยชราจะมีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการนอนหลับทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ เหมือนการเลี้ยงดูปลาถ้าให้ความเอาใจใส่น้อยให้อาหารไม่ดี ปลาก็จะโตไม่เต็มที่หรือไม่สมบูรณ์อาจมีโรคแทรกได้ การขาดการนอนหลับในคนที่มีโรคประจำตัวอาจจะทำให้โรคหรืออาการของโรคที่มีอยู่นั้นเพิ่มมากขึ้นหรือกำเริบขึ้น ดังนั้นในทุกคนทุกวัยถ้าไม่เอาใจใส่สุขอนามัยของการนอนหลับแล้วสุขภาพของคนก็จะแย่ลง เราสามารถทำให้คุณภาพการนอนเปลี่ยนแปลงดีขึ้นได้ด้วยการเอาใจใส่ให้ร่างกายได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ สุขภาพกายและสุขภาพใจก็จะดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง

โรคต่างๆ ที่เกี่ยวกับการนอนหลับผิดปกติ (Sleep Disorders)

1. โรคนอนไม่หลับ

เป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในคนไข้เกือบทุกวัยไม่ว่าจะมีอาการนี้ในระยะสั้น (acute) หรือเป็นเรื้อรัง (chronic) อาการนอนไม่หลับเป็นโรคความผิดปกติในการนอน นอนยาก ไม่ง่วงเมื่อถึงเวลานอน นอนหลับไม่สนิท นอนแล้วตื่นกลางดึก หรือแม้จะรู้สึกอ่อนเพลียเพียงใดก็ไม่สามารถนอนหลับได้ กลายเป็นปัญหาเรื้อรังที่รบกวนจิตใจและกระบวนการทำงานของร่างกาย ซึ่งการนอนไม่หลับเกิดได้จากหลายปัจจัย ตั้งแต่ปัจจัยทางร่างกาย ปัจจัยทางจิตใจ ปัจจัยสิ่งแวดล้อมและอุปนิสัยการนอน (sleep hygiene) เป็นต้น

โรคนอนไม่หลับมีอาการสำคัญ ดังนี้

  • นอนไม่หลับ กระสับกระส่าย ใช้เวลานานกว่าจะนอนได้
    • หลับยาก นอนดึก ตื่นสาย
      • นอนหลับ ๆ ตื่น ๆ รู้สึกตัว ตื่นขึ้นกลางดึก
        • ตื่นแล้วไม่สามารถนอนหลับต่อไปได้อีก
          • อ่อนล้า หมดแรง ไม่สดชื่นกระปรี้กระเปร่า
          • ปัจจัยที่ทำให้มีอาการนอนไม่หลับ อาจเกิดได้จาก

            • การดื่มเครื่องดื่มชูกำลัง เช่น ชา กาแฟ การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์จะทำให้ร่างกายหลับไม่ปกติ เช่น ทำให้ตื่นบ่อย หลับไม่สนิท หลับๆ ตื่นๆ
            • แสงหรือเสียงรบกวน อาจทำให้มีอาการนอนหลับไม่สนิท หลับๆตื่นๆได้
            • ความคิดวิตกกังวลว่าตนเองจะนอนไม่หลับ
            • การรับประทานยางชนิด เช่น ยาโรคหัวใจ , ยาความดัน , ยาแก้แพ้ , เป็นต้น
            • อายุที่เพิ่มมากขึ้น อาจส่งผลให้มีอาการนอนไม่หลับได้มากขึ้น
            • วิธีแก้อาการนอนไม่หลับ

              1. ควรหลีกเลี่ยงการดื่ม เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน ในหลังช่วงบ่าย จนถึงก่อนนอน

              2. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากการออกกำลังกายจะทำให้ร่างกายหลังสารเคมีที่ช่วยลดความตึงเครียดของร่างกายได้

              3. พยายามไม่งีบหลับในช่วงกลางวันมากเกินไป เพราะจะทำให้ไม่ง่วงและคุณภาพการนอนไม่ดีในคืนนั้น

              2. นอนหลับมากเกินปกติ / โรคนอนเกิน / โรคนอนขี้เซา

              กลุ่มนี้นอนหลับมากเกินไปซึ้งเกิดจากความผิดปกติทางระบบประสาท ดังนั้นจึงควรได้รับการค้นหาสาเหตุเพิ่มเติมเช่นกัน อย่างก็ตามก่อนจะลงความเห็นว่าคนไข้ที่ง่วงนอนผิดปกติตกอยู่ในกลุ่มนี้ ควรมั่นใจก่อนว่าคนไข้ดังกล่าวได้รับการนอนหลับพักผ่อนแล้วอย่างเพียงพอ ไม่ใช่พวกอดหลับอดนอน (Insufficient sleep syndrome) คนไข้ Central origin of hypersomnolence ส่วนใหญ่มีการง่วงนอนผิดปกติในเวลากลางวัน (excessive daytime sleepiness)

              เทคนิคการนอนอย่างมีคุณภาพ

              เทคนิคที่ 1 >>> ก่อนนอน งดสูบบุหรี่ งดเครื่องดื่มที่มีกาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ น้ำอัดลม โกโก้ และแอลกอฮอล์ทุกชนิด เพราะนิโคติน และกาเฟอีนมีผลโดยตรงต่อการนอนไม่หลับ เพราะกาเฟอิน ในกาแฟจะไปกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลางทำให้มีการตื่นตัว หากร่างกายได้รับมากกว่า 150 มิลลิกรัมต่อวันจะทำให้นอนหลับยาก หลับไม่สนิทและช่วงเวลาหลับนั้น สั้นลง (ถ้าเทียบกาแฟทรีอินวัน 1 ซอง โดยเฉลี่ยจะมีกาเฟอินประมาณ 83–122.48 มิลลิกรัม) ส่วนแอลกอฮอล์มีผลทำให้ระบบการนอนแย่ลง หลายคนมีความเชื่อผิดๆคิดว่าแอลกอฮอล์ช่วยให้นอนหลับง่าย เพราะแอลกอฮอล์มีฤทธิ์กดประสาท จะทำให้ง่วงเมื่อดื่มช่วงแรกๆ จากนั้นเมื่อแอลกอฮอล์เข้าสู่ร่างกายจะถูกเผาผลาญโดยตับ ทำให้เกิดสารเคมีตัวใหม่ที่ชื่อว่า เอทานอล ที่ทำให้คุณภาพการนอนลดลง คนดื่มมากๆจะมีอาการหลับๆตื่นๆ เมื่อดื่มสะสมไปนานๆ จะมีอาการนอนไม่หลับ ฝันร้าย กระสับกระส่าย จนต้องเสพติดแอลกอฮอล์กลายเป็นโรคพิษสุราเรื้อรังและโรคแทรกซ้อนอื่น จนถึง โรคมะเร็งตับ ตามมา

              เทคนิคที่ 2 >>> หลีกเลี่ยงการรับประทานอาการมื้อหนัก ก่อนนอน 2 ชั่วโมง รวมทั้ง เครื่องดื่มในปริมาณมากๆ หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด ย่อยยาก เพราะช่วงที่เรานอนหลับ ร่างกายต้องทำงานหนักในการย่อยอาหารที่เราทานเข้าไป ทำให้เราหลับไม่สนิท และมีอาการฝันร้ายได้ ยกเว้นถ้า หิวจริงๆ ควรนมอุ่น หรือ อาหารเบาๆ ย่อยง่ายก่อนนอนจะดีที่สุด และควรเข้าห้องน้ำแปรงฟัน ปัสสาวะก่อนนอน จะช่วยให้นอนหลับได้อย่างสุขสบาย ไม่ตื่นมาปัสสาวะกลางดึก

              เทคนิคที่ 3 >>> ไม่ควรออกกำลังกายก่อนนอน แต่ควรออกกำลังกายทุกวัน และห่างจากเวลาเข้านอนอย่างน้อย 3 ชั่วโมง เพราะช่วงที่เราออกกำลังกายร่างกายจะมีการเผาผลาญพลังงานและมีการหลั่งฮอร์โมนกระตุ้นประสาท ร่างกายจะตื่นตัว กล้ามเนื้อถูกใช้งาน และเกิดการสลายไขมันใต้ผิวหนัง โดยเฉพาะการออกกำลังกายแบบแอโรบิค จะทำให้หัวใจเต้นเร็ว ระบบไหลเวียนดีขึ้น ออกซิเจนถูกกระจายไปส่วนต่างๆของร่างกาย ส่งผลให้คนที่เข้านอนทันทีหลังออกกำลังกาย นอนหลับไม่สนิท คุณภาพการนอนไม่ดี เพราะร่างกายตื่นตัวจนทำให้อ่อนเพลียในวันรุ่งขึ้น ถ้าพักผ่อนไม่เพียงพอ

              เทคนิคที่ 4 >>> งดการเล่นอุปกรณ์ไอทีและเครื่องมือสื่อสารบนเตียงนอนและก่อนนอนถ้าจำเป็นต้องใช้งานควรให้ห่างเวลานอนอย่างน้อย 30 นาที -1 ชั่วโมง เช่น มือถือ ไอแพด ไอโฟน คอมพิวเตอร์ เพราะอุปกรณ์เหล่านี้มีผลต่อคลื่นสมองโดยตรง ทำให้นอนหลับยากขึ้น หรือ นอนหลับไม่สนิท โดยเฉพาะผู้มีปัญหาหลับยาก ควรจะงด 2–3 ชั่วโมงก่อนนอน เพื่อให้คลื่นสมองผ่อนคลายก่อนเข้านอน จะช่วยให้นอนหลับสนิทและหลับได้เร็วขึ้น

              เทคนิคที่ 5 >>> เข้านอนและตื่นเป็นเวลา รวมทั้งไม่ทำกิจกรรมที่กระตุ้นจิตใจก่อนนอน เช่น ดูหนังสยองขวัญ ตื่นเต้น อ่านหนังสือที่เครียดๆ เป็นต้น การเข้านอนและตื่นเป็นเวลา จะทำให้ร่างกายเกิดความเคยชิน และระบบการทำงานของสมองคงที่ เหมือนกับที่เราต้องฝึกทารกหรือเด็กเล็กๆให้นอนเป็นเวลา นอกจากช่วยให้เด็กมีพัฒนาการที่ดีแล้ว ยังส่งเสริมพัฒนาการด้านอารณ์และพัฒนาการด้านสติปัญญาและการเรียนรู้ได้อย่างดีด้วย

              เทคนิคที่ 6 >>> การจัดสภาพแวดล้อมในการนอนที่ส่งเสริมการนอนหลับพักผ่อน ข้อนี้สำคัญเป็นเรื่องแรกเลยคะ แต่บอกไว้หลังสุด เพราะถ้าขาดเทคนิคข้อนี้ ข้ออื่นๆ จะด้อยลงไปทันที สภาพแวดล้อมที่บอกได้แก่ แสงสว่าง กลิ่น สภาพอากาศ บรรยากาศที่ส่งเสริมความสุขสบายในการนอน ว่ากันว่า สำคัญพอๆ กับการเตรียมสนามแข่งสำหรับนักกีฬาเลยเชียวคะ การปิดไฟให้มืดสนิท หรือ หรี่ไฟให้แสงสว่างน้อยที่สุด บรรยากาศที่เหมาะสม ไม่ร้อน ไม่หนาวจนเกินไป ไร้เสียงและกลิ่นรบกวน และสภาพแวดล้อมสุดท้าย คือ เครื่องนอนและที่นอนที่สุขสบาย นอนแล้วมีความสุข ที่นอนดีๆสักอัน ที่อยู่กับเราและรองรับสรีระและร่างกายของเราทั้งคืน ตลอดการพักผ่อน อยู่กับอาจจะมากกว่า เสื้อผ้าแพงๆ หรือ เครื่องอำนวยความสะดวกบางชิ้น แต่มีคุณค่าและประโยชน์มหาศาล ที่จะช่วยให้เราพักผ่อนได้อย่างเต็มที่ นอนอย่างมีคุณภาพ ต่อไปแน่นอน

              เทคนิคที่ 7 >>> เลือกรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ที่ไม่เป็นพิษกับร่างกาย โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากสมุนไพร อย่างเช่น เห็ดหลินจือแดง ที่มีส่วนช่วยในการผ่อนคลายระบบประสาทและยังทำให้นอนหลับได้สนิทมากขึ้น สารสกัดจากเห็ดหลินจือแดงเป็นสมุนไพรที่มีสารสำคัญที่ช่วยทำให้รู้สึกผ่อนคลาย คลายความวิตกกังวล ช่วยทำให้นอนหลับ ลดอาการนอนหลับไม่สนิทและช่วยเพิ่มระยะเวลาการนอนให้นานขึ้นได้อีกด้วย

              หากเราอดนอน หรือพักผ่อนไม่เพียงพอ จะส่งผลเสียกับร่างกายทำให้ระบบร่างกายทำงานติดขัด จะเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดความดันโลหิตสูง และปัญหาด้านระบบหลอดเลือดหัวใจ ระบบภูมิคุ้มกันทำงานโดยมีประสิทธิภาพลดลง หายจากโรคต่างๆ ได้ช้าลง มีผลต่อการเจริญเติบโต มีการซ่อมแซมเนื้อเยื่อส่วนที่สึกหรอได้ลดลง ฟื้นตัวจากโรคได้ช้า ร่างกายมีภาวะอ่อนเพลีย ส่งผลต่อระบบเผาผลาญ ร่างกายต้องการอาหารมากขึ้น มีอาการป่วย เช่น คลื่นใส้ ปวดศีรษะ ท้องผูกหรือท้องเสีย กล้ามเนื้อทำงานได้ไม่เต็มที่ กล้ามเนื้อทำงานได้ลดลง หรืออ่อนแรง อ่อนเพลีย มีผลทางด้านจิตใจและอารมณ์ เช่น โกรธง่าย มีอารมณ์แปรปรวน ไม่คงที่ ซึมเศร้า และมีอาการเฉื่อยชา ไม่อยากทำอะไรเลย เพราะฉะนั้นจึงต้องดูแลร่างกายให้ดี การพักผ่อนนอนหลับนั้นก็เป็นสิ่งสำคัญ ไม่แพ้เรื่องการบริโภคหรือการออกกำลังกาย

              จากงานวิจัยพบว่า เห็ดหลินจือ มีส่วนช่วยให้มีการนอนหลับ

              สารสกัดจากเห็ดหลินจือแดงช่วยเสริมกลไกการทำงานของ GABAergic ซึ่งมีผลต่อการนอนหลับ และ ได้ถูกนำมาเพื่อใช้ในการรักษาโรคหลายชนิด ซึ่งเป็นครั้งแรกที่เราจัดทำรายงานเพื่อการศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับกลไก และผลกระทบของสารสกัดเห็ดหลินจือแดงกับการนอนหลับ และผลที่ช่วยคลายความวิตกกังวล ….

              จากผลการทดลองพบว่าสารสกัดจากเห็ดหลินจือแดงไม่มีผลต่อการนอนหลับของหนูทดลอง(ปกติ) ที่โดส 80mg/kg และ 120mg/kg. แต่อย่างไรก็ตามกพบว่าสารสกัดจากเห็ดหลินจือแดงมีส่วนที่ช่วยลดอาการนอนหลับไม่สนิท และช่วยเพิ่มระยะเวลาการนอนให้นานขึ้น, เพิ่ม non-REM (ช่วงระยะเวลาการหลับลึก เป็นช่วงที่ร่างกายได้พักผ่อนมากที่สุด) ในหนูทดลองได้อย่างมีนัยสำคัญ จากการสังเกตพบว่าสารสกัดจากเห็ดหลินจือแดงช่วยระงับ locomotor activity (พฤติกรรมการเคลื่อนไหว)ของหนูทดลองได้ Flumazenil เป็นยาที่ใช้ต้านฤทธ์ benzodiazepine receptor (benzodiazepine ช่วยทำให้รู้สึกผ่อนคลาย คลายความวิตกกังวล) ซึ่งผลที่ได้จากการให้ยา Flumazenil (3.5 mg/kg) แก่หนูทดลองที่ได้รับสารสกัดจากเห็ดหลินจือแดง พบว่า Flumazenil ไม่มีผลยับยั้งการออกฤทธ์ของสารสกัดจากเห็ดหลินจือแดง และพบว่าสารสกัดจากเห็ดหลินจือแดงทำให้ลดอาการนอนหลับไม่สนิทและช่วยเพิ่มระยะเวลาการนอนให้นานขึ้น,เพิ่ม non-REM (ช่วงระยะเวลาการหลับลึก เป็นช่วงที่ร่างกายได้พักผ่อนมากที่สุด) ของหนูทดลองได้ อย่างมีนัยสำคัญ ….

              กล่าวโดยสรุป สารสกัดจากเห็ดหลินจือแดงเป็นสมุนไพรที่มีฤทธ์ benzodiazepine (benzodiazepine ช่วยทำให้รู้สึกผ่อนคลาย คลายความวิตกกังวล) ซึ่งคล้ายกับ hypnotic activity ซึ่งมีฤทธ์ คลายความกังวล ช่วยทำให้นอนหลับได้ดียิ่งขึ้น