fbpx

เบาหวานสัญญาณอันตราย

โรคเบาหวาน เป็นโรคที่เกิดจากภาวะที่ร่างกายมีน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ เนื่องจากขาดฮอร์โมนอินซูลิน ส่งผลให้ร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลในเลือดไปใช้ได้ตามปกติ ก่อให้เกิดระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ เป็นผลให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ ตามมา ซึ่งสาเหตุของการเกิดโรคเบาหวานอันเนื่องมาจากวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป และพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ

เบาหวาน…สถิติสูงขึ้นอย่างน่ากลัว พบสถิติจำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวานได้เพิ่มมากขึ้นในแต่ละปี โดยสมาพันธ์เบาหวานนานาชาติ รายงานว่าในปี พ.ศ. 2558 ผู้ป่วยโรคเบาหวานทั่วโลกมีจำนวน 415 ล้านคน และเพิ่มขึ้นเป็น 642 ล้านคนในปี พ.ศ. 2583 ขณะที่ไทยมีผู้ป่วยเบาหวานเฉลี่ยเพิ่มขึ้นปีละ 2 แสนคน เสียชีวิตปีละ 8,000 คน และประชากร 1 ใน 11 คนทั่วโลกเป็นเบาหวานโดยไม่รู้ตัว

เบาหวาน...สังเกตสัญญาณ

  • น้ำหนักตัวลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ

  • ปัสสาวะบ่อยผิดปกติ

  • หิวบ่อย

  • อ่อนเพลีย ไม่มีแรง

  • เป็นแผลหายช้า

  • มีอาการชาบริเวณปลายมือ ปลายเท้า

** หากมีอาการเหล่านี้ควรได้รับการตรวจน้ำตาลในเลือด**

การวินิจฉัยโรคเบาหวาน สามารถทำได้ 4 วิธี

  • การตรวจน้ำตาลหลังอดอาหารอย่างน้อย 8 ชั่วโมง (FPG) หากมีค่าระดับน้ำตาลมากกว่าหรือเท่ากับ 126 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร แสดงว่าเป็นโรคเบาหวาน

  • การทดสอบความทนต่อน้ำตาลกลูโคส (Oral Glucose Tolerance Test: OGTT) จะทำในผู้ที่อดอาหารมาแล้วอย่างน้อย 8 ชั่วโมง โดยแพทย์จะทำการเจาะเลือดเข็มที่ 1 ก่อนการดื่มสารละลายกลูโคส และทำการเจาะเลือดซ้ำอีกครั้งหลังการดื่มสารละลาย หากพบว่ามีค่ามากกว่าหรือเท่ากับ 200 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรแสดงว่าบุคคลนั้นเป็นโรคเบาหวาน

  • การตรวจน้ำตาลเวลาใดเวลาหนึ่ง (RPG) แล้วมีค่าระดับน้ำตาลในเลือดมากกว่าหรือเท่ากับ 200 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ร่วมกับมีอาการของเบาหวาน เช่น ปัสสาวะบ่อย กระหายน้ำบ่อย ตามัว อ่อนเพลีย น้ำหนักลด แสดงว่าเป็นโรคเบาหวาน

  • การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดสะสม (HbA1c) การตรวจนี้ไม่จำเป็นต้องอดอาหาร แต่แพทย์จำเป็นต้องพิจารณาปัจจัยอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น อายุ หรือการเป็นโรคโลหิตจาง โดยหากค่าที่ตรวจได้มากกว่าหรือเท่ากับ 5% แสดงว่าเป็นโรคเบาหวาน

โรคเบาหวานแบ่งออกเป็น 4 ชนิด

เบาหวานชนิดที่ 1 เกิดจากการขาดอินซูลิน เนื่องจากตับอ่อนไม่สามารถหลั่งอินซูลินได้เลย (อินซูลินเป็นฮอร์โมนที่สร้างจากตับอ่อน ทำหน้าที่ช่วยนำน้ำตาลเข้าสู่เซลล์ของร่างกาย เพื่อเผาผลาญเป็นพลังงานในการดำรงชีวิต) เบาหวานชนิดนี้มักพบในเด็กและผู้ที่มีอายุน้อยกว่า 40 ปี

เบาหวานชนิดที่ 2 พบมากในคนส่วนใหญ่ เกิดจากการที่เซลล์ของร่างกายตอบสนองต่ออินซูลินได้ไม่ดีหรือที่เรียกว่าภาวะดื้อต่ออินซูลิน ทำให้ร่างกายเหมือนขาดอินซูลินไประดับหนึ่ง ร่างกายต้องทดแทนโดยการสร้างอินซูลินออกมามากขึ้น จนตับอ่อนทำงานมากขึ้นจนทำงานไม่ไหวถ้าไม่ช่วยแก้ไข นอกจากนี้ตับอ่อนของผู้ป่วยเบาหวานชนิดนี้ยังสร้างอินซูลินได้ไม่มากเท่าคนปกติด้วย จึงมีระดับอินซูลินที่ไม่พอเพียงแก่ความต้องการ สาเหตุของภาวะดื้ออินซูลิน ได้แก่ พันธุกรรม ความอ้วน และการไม่ออกกำลังกาย ดังนั้น หากมีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคเบาหวาน ร่วมกับมีพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่ดีต่อสุขภาพ ก็จะมีโอกาสเป็นโรคเบาหวานได้มากขึ้น

เบาหวานชนิดที่ 3 เป็นเบาหวานชนิดที่มีสาเหตุชัดเจน เช่น โรคตับอ่อนอักเสบ ตับอ่อนถูกตัด โรคที่มีเหล็กสะสมมากเกินไปในตับจนทำให้ตับเสียหาย การรับประทานยาบางชนิด เช่น สเตียรอยด์ การได้รับสารเคมี ความผิดปกติของฮอร์โมนจากต่อมหมวกไต

เบาหวานชนิดที่ 4 เป็นเบาหวานที่เกิดขึ้นขณะตั้งครรภ์ มักเกิดในผู้ที่ไม่มีประวัติเป็นเบาหวานมาก่อนตั้งครรภ์ เมื่อคลอดแล้วเบาหวานก็จะหายไป แต่คนกลุ่มนี้มีความเสี่ยงที่จะเกิดเป็นเบาหวานได้อีกในอนาคต

โรคเบาหวานแบ่งออกเป็น 4 ชนิด

เราสามารถเริ่มดูแลสุขภาพของตัวเองได้ตั้งแต่วันนี้โดยการปฏิบัติตามวิธีการเหล่านี้คือ

  • รับประทานอาหารให้ครบ 3 มื้อ หลีกเลี่ยงอาหารรสหวาน มัน เค็มจัด เพิ่มการบริโภคผักผลไม้

  • ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และเพียงพอ 150 นาทีต่อสัปดาห์

  • ลดการสูบบุหรี่ และลดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

  • ทำจิตใจให้แจ่มใส และพักผ่อนให้เพียงพอ

  • การเลือกรับประทานสมุนไพรในการดูแลสุขภาพ เช่น สารสกัดจากเห็ดหลินจือแดง

งานวิจัย..เห็ดหลินจือ ประสิทธิภาพการดูแลเบาหวาน - ความดัน

ว่าสารสกัดจากเห็ดหลินจือแดง มีส่วนช่วยในการลดระดับน้ำตาลในเลือด ลดความดันโลหิตสูง ลดไขมันในเลือด และกระตุ้นภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย ซึ่งสารสำคัญในกลุ่มไกลแคน (Glycan) ที่พบในเห็ดหลินจือจะมีส่วนช่วยในการลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ อีกทั้งยังช่วยเพิ่มปริมาณอินซูลินในเลือดได้อีกด้วย

การวิจัยประสิทธิผลของเห็ดหลินจือสกัดเข้มข้น

มีรายงานการศึกษาประสิทธิผลของเห็ดหลินจือสกัดเข้มข้นในการลดระดับน้ำตาลในเลือดและลดระดับไขมันในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีภาวะไขมันในเลือดสูง และความดันโลหิตสูง โดยงานวิจัยจากโรงพยาบาลเสาไห้ เฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา จังหวัดสระบุรี เพื่อศึกษาประสิทธิผลของเห็ดหลินจือ สกัดเข้มข้นเปรียบเทียบผลการรักษาระหว่างกลุ่มที่ได้รับและไม่ได้รับเห็ดหลินจือสกัดเข้มข้น โดยการศึกษาได้ทำการแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ

  • กลุ่มทดลอง จำนวน 45 คน
  • เป็นกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการตรวจรักษาและรับยาเบาหวานตามปกติ และจะได้รับเห็ดหลินจือสกัดเข้มข้น รับประทานติดต่อกันเป็นระยะเวลา 9 เดือนครั้งละ 1 แคปซูล วันละ 2 ครั้งเช้าและก่อนนอน

    • กลุ่มควบคุม จำนวน 46 คน
    • เป็นกลุ่มผู้ป่วยที่จะได้รับการตรวจรักษาและรับประทานยาเบาหวานตามปกติ แต่ไม่ได้รับเห็ดหลินจือ สกัดเข้มข้น

      สรุปผลการวิจัย

      หลังจากการรับประทานหลินจือมิน ควบคู่กับยาแผนปัจจุบันพบว่าค่า HbA1C ของกลุ่มทดลอง มีแนวโน้มลดลง โดยเริ่มเห็นการเปลี่ยนเปลงหลังจากรับประทานติดต่อกัน 3 เดือน และเห็นการเปลี่ยนแปลง อย่างมีนัยสำคัญหลังจากรับประทานติดต่อกัน 9 เดือน การที่ค่า HbA1C ลดลงสะท้อนให้เห็นว่าเห็ดหลินจือ มีฤทธิ์ช่วยในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด