fbpx

10อ. แนวทางดูแลตนเองสำหรับ “ผู้สูงอายุ”

“ผู้สูงอายุ” ตามคำนิยามทางการแพทย์และสาธารณสุข หมายถึง ผู้มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ซึ่งโดยปกติแล้ว ร่างกายของสิ่งมีชีวิตล้วนมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางเสื่อมลงตั้งแต่ในวัยกลางคนอยู่แล้ว เพียงแต่จะเห็นเป็นลักษณะของความเสื่อมอย่างชัดเจนเมื่ออายุ 40 ปีขึ้นไป โดยการเปลี่ยนแปลงของสภาพร่างกายของผู้สูงอายุแต่ละคนนั้น จะมากน้อยไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับสุขภาพ และการใช้ชีวิตในวัยที่ผ่านมา รวมทั้งปัจจัยอื่นๆ เพื่อให้บรรลุจุดประสงค์ดังกล่าว การดูแลผู้สูงอายุจึงต้องเน้นไปที่การทำให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง ประกอบกับการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุได้ร่วมทำกิจกรรมต่างๆ ตามที่สภาพร่างกาย จิตใจ และเวลาจะเอื้ออำนวย ซึ่งสามารถทำได้ง่ายๆ ด้วยหลัก 10 อ. ดังนี้

1. อาหาร ผู้สูงอายุอาจต้องมีความพิถีพิถันในเรื่องการรับประทานอาหาร
2. ออกกำลังกาย ผู้สูงอายุควรให้ความสำคัญในการออกกำลังกาย เพื่อให้ร่างกายแข็งแรงอยู่เสมอ
3. อนามัย ผู้สูงอายุควรรู้จักสังเกตการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกาย
4. อุจจาระ ปัสสาวะ ผู้สูงอายุจะต้องให้ความสนใจเรื่องการขับถ่ายให้มากเป็นพิเศษ หากมีปัญหาควรรีบแก้ไข
5. อากาศ และแสงอาทิตย์ ผู้สูงอายุควรอาศัยอยู่มรสถานที่ที่มีอากาศบริสุทธิ์และเป็นธรรมชาติ
6. อารมณ์ ผู้สูงอายุเป็นช่วงที่อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย มีความแปรปรวนค่อนข้างสูง หาวิธีควบคุมอารมณ์ก่อนแสดงออกมา
7. อดิเรก ผู้สูงอายุควรหางานอดิเรกทำเพื่อเบี่ยงเบนความสนใจหรือลดการหมกมุ่น เพื่อใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
8. อบอุ่น ผู้สูงอายุต้องมีบุคลิกโอบอ้อม เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เพื่อให้เกิดสัมพันธภาพที่ดีต่อกันและบรรยากาศที่ดีภายในครอบครัว
9. อุบัติเหตุ ผู้สูงอายุควรระมัดระวังไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ ป้องกันอันตรายต่อผู้งสูงอายุทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
10. อนาคต ผู้สูงอายุอาจจะต้องมีสินทรัพย์และหลักประกันเตรียมไว้ เพื่อเป็นหลักประกันในอนาคต

ข้อมูลข้างต้นที่กล่าวมา เป็นเพียงแนวทางหรือหลักการเบื้องต้นที่ใช้เป็นแนวทางในการดูแลตนเองของผู้สูงอายุ ซึ่งสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสมแล้วแต่บุคคลหรือสุขภาพในช่วงนั้น